ท่องเที่ยวป้อมพระจุลจอมเกล้า

Release Date : 15-06-2021 14:51:49

 

 

       สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญป้อมพระจุลจอมเกล้า          

                                         

       

       ๑. ศาลพระนเรศ - นารายณ์ หรืออีกนามหนึ่งคือ พระวิษณุ

ถือเป็นเทพทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูการสักการะศาล พระนเรศ - นารายณ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแด่ผู้ที่เข้าเยี่ยมชม
ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า
ศาลนี้ขาดว่าสร้างคู่มาพร้อมกับการสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ.2427

                   

 ๒. พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ 

   สักการะพร้อมกับวิทยากรบรรยายประวัติความเป็นมาในการสร้างขึ้นเพื่อเป็นราชานุสรณ์ และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแด่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กองทัพเรือได้ร่วมกับภาคเอกชนจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นราชานุสรณ์เเละรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 19 มกราคม 2536
             พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ พร้อมด้วย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิด
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า

                    

๓. ห้องนิทรรศการป้อมพระจุลจอมเกล้า

          เป็นห้องเเสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้า ที่มีโอกาศรับใช้ชาติสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มที่ เเละสมเกียรติในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 เมื่อ 23 ตุลาคม 2544 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องนิทรรศการ

 

                              

   ๔. ป้อมปืนเสือหมอบ

เป็นป้อมปืนใหญ่โดยมีลักษณะเป็นหลุมจำนวน ๗ หลุม ถือเป็นปืนใหญ่บรรจุท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือที่พระบาทสมเด็จ-
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้นเมื่อปี  พ.ศ.๒๔๒๗   เพื่อสกัดกั้นการรุกล้ำของเรือรบต่างชาติ
ปืนใหญ่อาร์มสตอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดซื้อปืนใหญ่ จำนวน 10 กระบอก
ติดตั้งไว้ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จำนวน 7 กระบอก เเละป้อมผีเสื้อสมุทร จำนวน 3 กระบอก ติดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2436

ต่อมา วันที่ 10 เม.ย.2436  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรี
เพื่อทอดพระเนตรป้อม เเละทดลองยิงปืนด้วยพระองค์เอง เเละทรงพระราชทานนามป้อมเเห่งนี้ว่า "ป้อมพระจุลจอมเกล้า"

๕.โรงเรียนศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน  

เป็นสะพานเฌอร่าระยะทาง ๗๕๐ เมตร พร้อมป้ายบอกชื่อพันธุ์พืชและสัตว์น้ำต่าง ๆ ถือเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ
จากสถานที่จริงในเรื่อง ชีวิตของพันธุ์ไม้ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2542
เพื่อเป็นเเหล่งศึกษาหาความรู้ทางวิชาการจากสถานที่จริง เช่น ชีวิตของพันธ์ุไม้เเละสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน
ในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ประกอบด้วย โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โพทะเล ลำพู ลำเเพน
เหงือกปลาหมอ จาก ปู้ก้ามดาบ กุ้งดีดขัน ปลาตีน เป็นต้น

๖.พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง 

พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง ได้อนุรักษ์ จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบกลางแจ้ง เมื่อ ๓๐ ก.ย.๓๙ น้อมเกล้า ฯ ถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เพื่อเป็นประโยชน์
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ การพัฒนาการทางทหาร และการค้นคว้าหาความรู้ ความเพลิดเพลินของประชาชนทั่วไป
และเพื่อสนองพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้กองทัพเรืออนุรักษ์เรือรบที่มีคุณค่า และมีความสำคัญไว้

๗. อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือเป็นอุทยานกลางแจ้ง (อาวุธปืน)

ทหารเรือได้จัดสร้างเพื่อน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ โดยได้จัดหาอาวุธประเภทต่าง ๆ ซึ่งเก็บรักษาไว้นำมา ตกแต่ง ซ่อมทำ และจัดแสดงตาม
ยุคสมัย ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์อาวุธกลางแจ้ง เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาวิวัฒนาการทางอาวุธของทหารเรือในการป้องกันประเทศ
ตั้งแต่ในอดีตจนถึงบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในปัจจุบัน รูปแบบของอุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือ ประกอบด้วย

        ๑. อาคารนิทรรศการ

        ๒. ศาลาแสดงเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ของทหารเรือ จำนวน ๙ หลัง

        ๓. การจัดวางและตั้งแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งส่วนประกอบต่าง ๆ กลางแจ้ง ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทหารเรือ แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มของปืนหลุม หรือปืนเสือหมอบ จำนวน ๗ กระบอก กับข้อมูลของปืนและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ต่อพระอัจฉริยะภาพและสายพระเนตรที่กว้างไกล ของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕     

กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มปืนอาวุธสมัยรัชกาลที่ ๕ และสมัยรัชการที่ ๖ โดยเน้นกลุ่มอาวุธของเรือหลวงพระร่วง และการจัดหาเรือหลวงพระร่วง ของรัชกาลที่ ๖ รวมทั้งยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ในสองรัชสมัย สำหรับปืนและส่วนประกอบที่ตั้งแสดงมีดังนี้

            - ปืน ๑๒๐/๔๐ มม.   ปืน ๓๗ มม.ล้อสนาม   ตอร์ปิโด ๔๕ ค.

            - ปืน ๗๖/๔๐ มม. (ญี่ปุ่น)   ตอร์ปิโดแบบ ๔๕ ก.   ตอร์ปิโด ๔๕ ง.

            - ปืน ๕๗/๔๐ มม. (แท่นเรือ)  ทุ่นระเบิดแบบหมวกแขก  ปืน ๑๒๐/๔๐ มม.(เรือหลวงพระร่วง)

            - ปืน ๓๗/๒๐ มม. (แท่นเรือ)  ปืนกล ๓๗ มม.แคทเธอริ่งกัน ๕ ลำกล้อง ตอร์ปิโด ๕๓ ก.

            - ปืน ๔๗/๔๐ มม. ล้อสนาม (ปืนเที่ยง) ปืนกล ๑๑ มม.แคทเธอริ่งกัน ๑๐ ลำกล้อง

            - ปืนกล ๔๐/๔๐ มม. แท่นเดียว  ปืน ๕๗/๔๐ มม. ล้อสนามปืน ๕๗ มม. (ติดตั้งบนเรือตอร์ปิโด)

            - ปืนกล ๘ มม. ฮอทดิส   ปืน ๓๗/๒๐ มม. ล้อสนามตอร์ปีโด ๔๕ ข.

กลุ่มที่ ๓ เป็นกลุ่มปืนและอาวุธ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุทธนาวีที่เกาะช้าง และในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ ๒ การแสดงของอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ประกอบ ซึ่งมีอาวุธดังนี้

           ตอร์ปิโดแบบ ๔๕ ก.   ปืนกล ๒๐ มม.แมดเสน แบบ ๗๗  ปืน ๔๐/๔๐ มม.แท่นคู่

           ปืน ๗๖/๔๕ มม.   ปืนกล ๒๐ มม.แมดเสน แบบ ๘๐  ปืน ๗๕/๕๑ มม.  ปืน ๗๕/๕๑ มม.

กลุ่มที่ ๔ เป็นกลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีไว้ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถึงปัจจุบัน รวมถึงการจัดวางยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ ในยุทธการต่าง ๆ กับการแสดงข้อมูลทางอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยมีรายการดังนี้

           - ปืน ๗๕/๔๑ มม.   ปืน ๑๐๒/๔๕ มม.ของเรือหลวงโพธิสามต้น  ปืนกล ๒๐ มม.เออริคอน

           - ปืนยิงรถถังขนาด ๓๗ มม.ล้อสนาม เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๔.๒ นิ้ว  เรือตรวจการลำน้ำ (PBR)

           - ปืน ๙๐ มม.ล้อสนาม   ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังขนาด ๗๕ มม. รถสะเทอนน้ำสะเทินบก (LVT)

 

  กลุ่มที่ ๕ เป็นการจัดวางสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ยามสงบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เช่น ฐานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในทะเลจำลองเรือประมงพร้อมข้อมูลประกอบ